การติดตั้ง WordPress บน DirectAdmin

Home > Wordpress > การติดตั้ง WordPress บน DirectAdmin

การติดตั้ง WordPress บน DirectAdmin Website Control Panel

การติดตั้ง WordPress บน Directadmin ก่อนอื่นต้องทำการดาวน์โหลดไฟล์ WordPress มาก่อน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ https://wordpress.org/download/ หรือถ้าหากต้องการ WordPress ภาษาไทย ก็สามารถดาวน์โหลดได้ที่ https://th.wordpress.org/download/

Wordpress Download
เว็บไซต์ดาวน์โหลดไฟล์ WordPress

เมื่อทำการดาวน์โหลดไฟล์มาเสร็จแล้ว ให้ทำการแตกไฟล์ซิปก็จะได้โฟลเดอร์ชื่อ wordpress ซึ่งภายในก็จะมีไฟล์ต่างๆจะประกอบด้วยไฟล์ของ WordPress

Wordpress Folder
ไฟล์ WordPress

การอัพโหลดไฟล์ WordPress

ในการอัพโหลดไฟล์ WordPress ในกรณีนี้สามารถทำได้อยู่ 2 แบบ คือ

  1. การอัพโหลด WordPress บน DirectAdmin
  2. การอัพโหลด WordPress ผ่านโปรแกรม FileZilla

การอัพโหลด WordPress บน DirectAdmin

หลังจากที่ดาวน์โหลด WordPress ก็จะได้ wordpress.zip ให้เราทำการอัพโหลดไฟล์ไปยัง DirectAdmin ในโฟลเดอร์ public_html

public_html DirectAdmin
คลิกที่ Upload files to current directory
Choose File DirectAdmin
คลิกที่ Choose File
Upload WordPress
เลือก โฟลเดอร์ wordpress.zip
Upload WordPress DirectAdmin
คลิกที่ Upload Files

หลังจากที่ทำการอัพโหลดไฟล์ขึ้น Server จะเห็นไฟล์ WordPress ที่อัพโหลดไฟล์อยู่ใน โฟลเดอร์ public_html ซึ่งจะเป็น โฟลเดอร์ wordpress.zip ให้เราทำการแตกไฟล์โดยทำการเลือก Extract

Extract Folder WordPress
คลิกที่ Extract
Extract WordPress
คลิกที่ Extract
DirectAdmin File Extracted

เมื่อทำการแตกไฟล์ซิปเสร็จแล้ว จะเห็นว่ามีโฟลเดอร์เพิ่มขึ้นมา ให้เราทำการย้ายไฟล์ข้างในออกมาโดยทำตามขั้นตอนดังนี้

Folder WordPress
คลิกที่โฟลเดอร์ wordpress
Move file WordPress
คลิกที่ Select
Add to Clipboard
คลิกที่ Add to Clipboard
Add to Clipboard 1
คลิกที่ Up a Level เพื่อย้อนกลับ
Move Clipboard Files Here
คลิกที่ Move Clipboard Files Here
File WordPress

หลังจากที่ทำการย้ายไฟล์ของ wordpress มาอยู่ใน public_html ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการสร้างฐานข้อมูล

การสร้างฐานข้อมูล

การสร้างฐานข้อมูลให้กับ WordPress โดยทำการ Login เข้าสู่ระบบ DirectAdmin ซึ่งจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

MySQL Management

คลิกที่ MySQL Management
Create new Database

คลิกที่ Create new Database
Create Database

ให้เราทำการสร้าง Database Name, Database Username, Database Password และ คลิกที่ Create
Database Name

เมื่อสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้ว ให้ทำการ Save ข้อมูล Database Name, Database Username, Database Password หรือยังไม่ต้องปิดหน้านี้ เพื่อที่จะได้ทำการเอาข้อมูลไปใส่ในไฟล์ wp-config-sample.php หรือตอนติดตั้ง WordPress

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลจากไฟล์​ wp-config.php

ในการเชื่อมต่อฐานข้อมูลจากไฟล์​ wp-config.php ให้เราทำการหาไฟล์ที่ชื่อว่า wp-config-sample.php ในโฟลเดอร์ wordpress จากนั้นให้ทำการเปิดไฟล์ขึ้นมา แต่สิ่งที่จำเป็นต่อการเชื่อมต่อนั้น เราจำเป็นต้องสร้างฐานข้อมูลมาก่อน

wp-config-sample.php
ทำการแก้ไขที่ไฟล์ wp-config-sample.php เลืือก Edit
Edit wp-config.php
ทำการใส่ข้อมูลของฐานข้อมูล

หลังจากทำการใส่ข้อมูลของฐานข้อมูล ขั้นตอนต่อไปคือให้ทำการลบ -sample จากนั้นก็ทำการ Save As ก็จะได้ไฟล์ wp-config.php ที่ถูกสร้างขึ้นเพิ่มมาใหม่ส่่วนไฟล์ wp-config-sample.php ให้ทำการลบออกจากภายในโฮสติ้ง

การอัพโหลด WordPress ผ่านโปรแกรม FileZilla

สำหรับขั้นตอน การอัพโหลด WordPress ผ่านโปรแกรม FileZilla เราจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรม FileZilla ซึ่งสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่เว็บไซต์ https://filezilla-project.org เมื่อทำการติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เราทำการใส่ข้อมูลการเชื่อมต่อโฮสติ้ง

โดยสิ่งที่จำเป็นต้องมีในการเชื่อมต่อกับโฮ้สติ้ง คือ

  1. Host : ftp หรือ ip
  2. Username : ชื่อในการเข้าใช้
  3. Password : รหัสผ่าน
  4. Port : พอร์ทที่ใช้ในการเชื่อมต่อ

ข้อมูลพวกนี้จะถูกส่งมาในอีเมลในตอนที่เราทำการซื้อโฮสติ้ง ซึ่งรายละเอียดจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการนั้นๆ

FTP Quickconnect
ตัวอย่างการเชื่อมต่อ FTP

เมื่อทำการเชื่อมต่อกับ FileZilla เสร็จแล้วให้ทำการอัพโหลด WordPress ผ่าน FileZilla โดยการเลือกโฟลเดอร์ WordPress ที่เราทำการ Save เก็บไว้ อัพโหลดไปยัง public_html

Upload WordPress on FileZilla

ในขั้นตอนนี้จะเป็นการทำการอัพโหลดไปทั้งไฟล์ wordpress.zip แล้วทำการ Extract ที่หลังจากภายในโฮสติ้ง หรืออีกในกรณีทำการแตกไฟล์ซิป แล้วทำการอัพโหลดไปทั้งโฟลเดอร์ (บางโฮสติ้งอาจจะมีปัญหาในการอัพโหลดไฟล์ไม่ครบ)

การตั้งค่า WordPress เริ่มต้น

หลังจากที่ทำการติดตั้ง WordPress เรียบร้อยเสร็จแล้ว ก็จะเป็นส่วนของ การตั้งค่าเริ่มต้นของ WordPress โดยค่า default การตั้งค่าของ WordPress คือ wp-admin ตัวอย่างการเข้าสู่การตั้งค่า www.example.com/wp-admin

Install WordPress
ทำการเลือกภาษาของ WordPress ในที่นี้ทำการเลือกใช้ภาษา English (United States)
Setup WordPress
  1. Site Title ชื่อหัวข้อเว็บไซต์
  2. Usename ชื่อผู้ใช้งาน ไม่ควรตั้ง Admin ควรตั้งให้มีความปลอดภัยมากที่สุด
  3. Password การตั้งค่ารหัสผ่าน ควรจะมีความยาว 8 Characters ขึ้นไป และประกอบด้วยการมีอักษรพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ และตัวเลขอยู่ด้วยกัน
  4. Email อีเมลหลักของเว็บไซต์ สำหรับการแจ้งเตือน
  5. Search Engine Visibility ในส่วนนี้ได้ทำการเลือก Discourage search engines from indexing this site ซึ่งยังไม่ต้องการให้ Google มาทำการเก็บข้อมูลภายในเว็บไซต์ของเรา เพราะเว็บไซต์นั้นยังเป็นเว็บไซต์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ควรเปิดหลังจากที่ทำเว็บไซต์แล้วในภายหลัง เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อ SEO ในการจัดทำอันดับ
Success Setup WordPress
คลิก Login เพื่อเข้าสู่ระบบ
WordPress Login
กรอก Usename และ Password
Dashboard WordPress
Dashboard WordPress

หากต้องการดูหน้าเว็บไซต์สามารถคลิกที่เมนูย่อย Visit Site

Visit Site WordPress
Visit Site
Preview Site WordPress
หน้าตาเว็บไซต์เมื่อทำการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์

หากต้องการกลับไปที่หน้า Dashboard WordPress ให้ทำการเลือกเมนู Dashboard

Back to Dashboard
กลับเข้าสู่หน้า Dashboard